สถาปัตยกรรมกรีกงดงามดั่งตำนาน

สถาปัตยกรรมกรีก

            สถาปัตยกรรมกรีก เป็นสถาปัตยกรรมที่สูญหายไปจากกรีซมาตั้งแต่ปลายสมัยเฮลลาดิค (Helladic period) หรือสมัยไมซีเนียน (ราว 1200 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มาจนกระทั่งราว 700 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อชาวโรมันมีความมั่งคั่งและฟื้นตัวขึ้นจนถึงจุดที่เริ่มมีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสำหรับสาธารณชนขึ้นได้อีก 

ที่มา : https://historyartsageerat.blogspot.com/2019/08/10-136.html

        ชาวกรีกโบราณมีวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่มานานกว่าพันปีคริสตศักราช สถาปัตยกรรมมีให้เห็นกันมากในรูปแบบที่อยู่อาศัย ชาวกรีกโบราณไม่นิยมสร้างวัดและสถานที่สาธารณะ ไม่เหมือนกับชนกลุ่มโบราณ ซึ่งในบ้านเรือนนั้นมักจะสร้างให้มีหลายห้องและมีมากกว่า 1 ชั้น การกั้นห้องจะใช้เสาเป็นตัวกั้น ลักษณะภายในบ้านจะค่อนข้างเปิดโล่ง บันไดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในบ้าน 

        สถาปัตยกรรมกรีกยุคคลาสสิคที่สำคัญ มีแตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ สถาปัตยกรรมแบบ Doric, Ionic, and Corinthian ซึ่งสถาปัตยกรรมแบบ Corinthian นั้นจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมกว้างขวางเท่ากับสถาปัตยกรรมแบบ Doric, Ionic เพราะว่าสถาปัตยกรรมแบบ Corinthian นั้นมีความสลับซับซ้อนและมีรายละเอียดเยอะมาก

        สถาปัตยกรรมแบบ Doric เป็นที่รู้จักเพราะชาวสปาตันนิยมใช้ สร้างขึ้นจากด้ามไม้ซึ่งภายหลังกลายเป็นหิน ตอนบนของด้ามไม้จะมีบุที่มีบล็อคไม้ทรงสี่เหลี่ยมอยู่ เสาค้ำขื่อที่เรียกว่า architrave

        เสา Ionic จะมีลักษณะเรียวกว่าเสา Doric การสร้างต้องใช้แม่แบบและการตกแต่งโดยการแกะสลักด้วยศิลปะที่พริ้วไหว ส่วนบนสุดของผนังมีรายละเอียดที่สวยงาม

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/19628

หัวเสา 3 แบบ ได้แก่

1.ดอริก    หัวเสาเรียบ

ที่มา :  https://historyartsageerat.blogspot.com/2019/08/10-136.html

2.ไอโอนิก   หัวเสาเป็นแบบม้วนย้อยลงมา

ที่มา :  https://historyartsageerat.blogspot.com/2019/08/10-136.html



3.โครินเธียน     หัวเสาเป็นรูปใบไม้หรูหรา

ที่มา :  https://historyartsageerat.blogspot.com/2019/08/10-136.html


        สถาปัตยกรรมกรีกจะใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคานเช่นเดียวกับอียิปต์มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจากฐานอาคารซึ่งยกเป็นชั้นๆก็จะเป็นฝาผนังโดยปราศจากหน้าต่างซึ่งจะกั้นเป็นห้องต่างๆ 1- 3 ห้อง  ปกติสถาปนิกจะสร้างเสารายล้อมรอบอาคารหรือสนามด้วยมีการสลับช่วงเสากันอย่างมีจังหวะระหว่างเสากับช่องว่างระหว่างเสาทำให้พื้นภายนอกรอบๆวิหารมีความสว่างและมีรูปทรงเปิดมากกว่าสถาปัตยกรรมอียิปต์และมีขนาดเหมาะสมไม่ใหญ่โตจนเกินไปมีรูปทรงเรียบง่าย สถาปัตยกรรมกรีกแบบพื้นฐาน 2 ใน 3 แบบ เกิดในสมัยอาร์คาอิก คือ แบบดอริกและแบบไอโอนิกซึ่งแบบหลังพบแพร่หลายทั่วไปในแถบเอเชียไมเนอร์เสาเหล่านี้แต่ละต้นจะมีคานพาดหัวเสาถึงกันหมดในสมัยต่อมาเกิดสถาปัตยกรรมอีกแบบหนึ่งคือแบบโครินเธียนหัวเสาจะมีลายรูปใบไม้ชาวกรีกนิยมสร้างอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรมทั้งสามชนิดนี้ผสมผสานกันโดยมีการตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลักลวดลายประกอบบางทีก็แกะสลักรูปคนประกอบไปด้วยนอกจากนี้ยังมีการใช้สีระบายตกแต่งโดยสีน้ำเงินได้รับความนิยมใช้ระบายฉากหลังรูปลวดลายที่หน้าจั่วและสีแดงใช้ระบายฉากหลังสำหรับประติมากรรมที่หัวเสาและลายคิ้วคาน

ที่มา : https://sites.google.com/site/social030/bth-thi-3

        ตัวอย่างสถาปัตยกรรมกรีก

วิหารพาร์เธนอน คือ วิหารโบราณบนเนินอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ประเทศกรีซ สร้างเพื่อเป็นศาสนสถานบูชาเทพีเอเธนาหรือเทพีแห่งปัญญา ความรอบรู้ ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรทกรีกโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุด แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของสถาปนิกในสมัยนั้นและถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดกว้าง 101.4 ฟุต หรือ 30.9 เมตร และ ยาว 228.0 ฟุต หรือ 69.5 เมตร คำว่า พาร์เธนอน นั้นน่าจะมาจากประติมากรรมที่เคยตั้งอยู่ภายในวิหาร คือ Athena Parthenos ซึ่งมีความหมายว่า เทพีอันบริสุทธิ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิหารพาร์เธนอน
ที่มา : https://sites.google.com/site/chuenjit12931/wi-ha-rpharthe-nxn


หอเอนเมืองปิซา ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร

ประวัติของหอเอนเมืองปิซ่า - Sasina Phairot M.4/5 No 31
ที่มา : http://119.46.166.126/self_all/selfaccess12/m6/201/lesson3/item4.php

            สถาปัตยกรรมของกรีกนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร เมื่อพบเห็นจึงสามารถบอกได้อย่างมั่นใจว่าเป็นสถาปัตกรรมของกรีกแน่นอน ด้วยผลงานจากความสามารถของชาวกรีกโบราณที่ทำให้อารยธรรมกรีกยังคงมีมาและถูกรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน




อ้างอิงแหล่งข้อมูล

ยุทธิชัย เชือกรัมย์. (2555). มรดกที่สำคัญของกรีก. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563, จาก  https://sites.google.com/site/social030/bth-thi-3

วนิดา นันทกิจ. (2552). สถาปัตยกรรมกรีก-โรมัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563, จาก http://www.thaigoodview.com/node/19628

ความคิดเห็น